มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และได้ให้การสนับสนุนสังคมไทยด้านการศึกษาผ่านโครงการมอบทุนการศึกษามาเป็นระยะเวลากว่า 31 ปีแล้ว เพื่อมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มูลนิธิฯ ได้ขยายการสนับสนุนไปสู่กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในกลุ่มแต่ละบริษัทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา โดยกิจกรรมอาสาสมัครร่วมกับพนักงานทุกบริษัทในกลุ่มได้ดำเนินการโดยมุ่งเน้นที่กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่นั้นมา คณะกรรมการกิจการเพื่อสาธารณกุศล ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทในกลุ่มบริษัท Mitsubishi Electric ในประเทศไทย และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทยที่เราได้เป็นส่วนหนึ่ง

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กิจกรรมอาสาสมัคร
สถานที่: ป่าชุมชนบ้านหว้าเอน อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
วันที่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ริเริ่ม: พ.ศ. 2561
ร่วมมือกับ: กรมป่าไม้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และป่าชุมชนบ้านหว้าเอน

มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย ได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัท Mitsubishi Electric 11 บริษัทในประเทศไทย จัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมีอาสาสมัครจากพนักงานของทุกบริษัทในกลุ่มและชุมชนท้องถิ่น ร่วมกันทำกิจกรรมภายใต้โครงการ “ภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน” ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 250 คน ที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อปลูกต้นไม้และสร้างรั้วสำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงปัญหาจากผลกระทบของก๊าซเรือนกระจก และให้พนักงานได้มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนชุมชนเพื่อทำให้ป่าชุมชนได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นในพันธกิจขององค์กร “การเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า” เพื่อมุ่งมั่นไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ

โครงการจัดการน้ำชุมชน
สถานที่: บ้านเขาใหญ่ อำเภอบ่อทอง จังหวังชลบุรี
ร่วมมือกับ: มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์*
*มูลนิธิก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานบริหารจัดการน้ำ ที่ดิน และทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2538 ประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงให้ความสำคัญและริเริ่มบูรณาการข้อมูลน้ำซึ่งต้องใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีหลายส่วน การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความยั่งยืนด้วยตนเอง เช่นเดียวกันการให้การสนับสนุนของมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย ต่อการจัดการน้ำของชุมชนเป็นประโยชน์ต่อการสำรองน้ำของชุมชนในช่วงฤดูแล้ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเกษตรและการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม โดยโครงการมุ่งหวังให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการพื้นที่ของตนเองได้อย่างยั่งยืนตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 4 แนวทาง – การค้นหาแหล่งน้ำ (การจัดการข้อมูลน้ำ) การสำรองน้ำไว้ใช้ในชีวิตประจำวันและการเกษตร การใช้และการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำให้ชุมชนสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เพื่อการผลิตที่ยั่งยืนและสร้างรายได้ตลอดทั้งปี พร้อมทั้งต่อยอดความสำเร็จในฐานะชุมชนต้นแบบเพื่อสนับสนุนและสร้างศักยภาพให้กับชุมชนอื่นๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567 มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับการสนับสนุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ในโครงการจัดการน้ำชุมชน

สนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาคนรุ่นต่อไป

โครงการมอบทุนการศึกษา
ริเริ่ม: พ.ศ. 2536
มหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โครงการมอบทุนการศึกษาเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ผู้ด้อยโอกาส ได้มอบทุนการศึกษาให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2555 ได้ขยายไปยังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย ในมุมมองระยะยาว เราเชื่อว่าการศึกษาเป็นกุญแจสำคัญสู่การเติบโตที่ยั่งยืน และมูลนิธิฯ ได้สนับสนุนการศึกษาไทยมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แนวคิดพื้นฐานภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเป็นเวลา 31 ปีแล้ว และนักศึกษาทุนมีโอกาสได้ฝึกงานกับบริษัทในกลุ่มบริษัท Mitsubishi Electric เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงอีกด้วย

④ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์
สถานที่: บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ เอเซีย จำกัด (AMEC)
วันที่ 25 สิงหาคม 2566
ริเริ่ม: พ.ศ. 2559

กิจกรรมห้องเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองที่แสนสนุก และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีหลักของ Mitsubishi Electric เพื่อสร้างความรักในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อมุ่งสู่นวัตกรรมแห่งอนาคต กิจกรรมห้องเรียนวิทยาศาสตร์ดำเนินการโดยหมุนเวียนบริษัทในแต่ละปีเป็นผู้จัดกิจกรรม และแต่ละบริษัทสามารถนำเสนอเทคโนโลยีหลักของตนผ่านการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่สนุกสนานซึ่งเชื่อมโยงกับความเชี่ยวชาญของตนเอง และยังเป็นโอกาสในการสนับสนุนโรงเรียนใกล้เคียงในชุมชนท้องถิ่นของตนอีกด้วย

โครงการประทีปเด็กไทย
สถานที่: วัดศรีรัตนธรรมาราม อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566
ริเริ่ม: พ.ศ. 2560
ร่วมมือกับ: มูลนิธิประทีปเด็กไทย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร

โครงการประทีปเด็กไทยได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสำหรับเด็กอายุระหว่าง 2-6 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาร่างกายและจิตใจเพื่อการศึกษาในอนาคตและเพื่อลดภาระทางการเงินให้กับผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลบุตรเนื่องจากจำเป็นต้องทำงานในแต่ละวัน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กๆ จะได้รับการดูแลทางโภชนาการด้วยอาหารที่มีคุณค่าเพื่อพัฒนาการทางร่างกาย การฝึกสมาธิ และเรียนรู้ทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาในขั้นที่สูงขึ้นต่อไป และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบ้านเกิดในอนาคต
เป้าหมายของโครงการคือการสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากกว่า 7,000 แห่ง ในทุกตำบลในประเทศไทย มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย ร่วมกับ มูลนิธิประทีปเด็กไทย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในต่างจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากพนักงานในกลุ่มบริษัท Mitsubishi Electric ทั้งหมด 11 บริษัท และเงินบริจาคสมทบทุนจากมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย เพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กในทุกปี และหวังที่จะเห็นรอยยิ้มของเด็กทุกคนพร้อมไปกับการเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในสังคมไทย

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา 
สถานที่: โรงเรียนบ้านหินโคน อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ กุมภาพันธ์ 2566 – กุมภาพันธ์ 2567
ริเริ่ม: พ.ศ. 2563
ร่วมมือกับ: มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาเป็นกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนและชุมชนของโรงเรียนในฐานะศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยนักเรียนเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการผ่านการจำลองแบบอย่างธุรกิจทางการเกษตรจากผู้ผลิต การตลาด การบัญชี เป็นต้น วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสร้างโรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือกที่นักเรียนและบุคลากรไม่เน้นทักษะด้านตัวเลขและการอ่านออกเขียนได้ แต่เน้นทักษะการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ ซึ่งนักเรียนและชุมชนสามารถใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นนักเรียนจึงสามารถพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพได้ ซึ่งแต่ละโรงเรียนสามารถสร้างหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของแต่ละพื้นที่ เพื่อประกอบอาชีพอิสระและสามารถหาเลี้ยงชีพในชุมชนของตนเองได้ และไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปทำงานในเมืองใหญ่ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย

สวัสดิการสังคม

การบริจาคให้กับวัดพระบาทน้ำพุ (เพื่อดูแลผู้ป่วยเอดส์)
สถานที่: วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ริเริ่ม: พ.ศ. 2559
ร่วมกับ: วัดพระบาทน้ำพุ

วัดพระบาทน้ำพุ นำโดย พระราชวิสุทธิประชานาถ อุทิศตนกว่า 30 ปี เพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์จำนวนกว่า 2,000 ราย รวมทั้งเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่ติดเชื้อ HIV มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 วัดพระบาทน้ำพุได้สนับสนุนดูแลและรับผู้ป่วยเอดส์จากทั่วประเทศ และมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทิคไทย ได้สนับสนุนการบริจาคให้กับวัดโดยการร่วมบริจาคจากพนักงานของเรา ในการที่เราจะมุ่งมั่นเพื่อบรรลุสู่สังคมที่ยั่งยืน พนักงานของเราทุกคนเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสังคมผ่านหน้าที่การทำงานและในชีวิตส่วนตัว ด้วยการสร้างสรรค์สังคมในส่วนเล็กๆ เท่าที่ทุกคนจะสามารถทำได้นี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมโดยรวมได้

Authorization I have received permission to use the article and photo in internal publications. Yes
I have received permission to use the article and photo on our company websites (Thailand and Global website), and in our sustainability report and other company publications. Yes
  • All copyrights/usage rights and permission to publish this photo have been obtained from the photographer.
  • Permission to publish this photo on the website and in other company publications has been obtained from the person(s) shown therein, or representative of same.
  • Permission to publish individual and group names has been obtained from the relevant person(s)/organization(s).